ในแวดวงเครื่องประดับไทยนั้น ชื่อของ คุณสุวลักษณ์ จัดว่าอยู่แถวหน้าคนหนึ่งเลยทีเดียว เราคงได้ชื่นชมผลงานของคุณสุวลักษณ์ มาบ้างแล้ว คุณสุวลักษณ์ขยายความของ Fine Jewelry ว่า “คือจิเวลรี่ที่ทําขึ้นชิ้นต่อชิ้นนะคะ แล้วก็ ใช้โลหะมีค่า ใช้เพชรแท้ พลอยแท้ แต่ว่า รูปแบบของ บี บิจูส์ จะไม่เหมือนกับเครื่อง ประดับทั่วไป จะเป็นรูปแบบในสไตล์ที่ดิฉัน ชอบและถนัด”
และนั่นคือสิ่งที่ทำให้เครื่องประดับของ ปี บิจูส์ มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัว ทั้งนี้ เพราะคุณสุวลักษณ์ให้ความสำคัญและพิถีพิถันกับการออกแบบทุกขั้นตอน โดยเฉพาะ การเลือกอัญมณีเธอบอกว่า “เวลาทำงานดิฉันจะต้องเห็นตัวพลอย ก่อนแล้วค่อยดีไซน์ เพราะถ้าเราดีไซน์ตัว พลอยออกมาแล้วเราไม่สามารถหาพลอยตาม แบบที่เราต้องการได้ หรือถ้าได้ เราก็อาจจะ ต้องต่อรองกับความต้องการของตัวเองว่า แบบมันได้ ไซส์มันได้ แต่สีมันไม่สวยจะเอาไหม ซึ่งสำหรับงานของดิฉันแล้วจะไม่มีการ ต่อรอง จะต้องออกมาสวยอย่างเดียว จะต้อง ออกมาเพอร์เฟ็กต์อย่างเดียว”
เพราะอย่างนี้งานของเธอทุกชิ้นจึงมีความ เป็นมาสเตอร์พีซเหมือนงานศิลปะชิ้นหนึ่ง “ลูกค้าบางคนบอกว่า เขาใส่มรกต 20 กะรัต ใส่เพชรสิบกว่ากะรัตไม่มีคนชม แต่มา ใส่เครื่องประดับของเราเส้นละไม่กี่หมื่น แต่มี คนชม” เธอเล่าพร้อมกับหัวเราะและเสริมว่า ลูกค้าหลายคนซื้อเพราะความพอใจมากกว่า “บางคนซื้อไปเก็บไว้ชื่นชมเหมือนเป็นการซื้องานศิลปะชิ้นหนึ่ง เพราะเขารู้ว่าผลงานที่ทำออกมามันมีอย่างละชิ้นเท่านั้น”
สำหรับเครื่องประดับเซตพิเศษนี้ คุณสุวลักษณ์เล่าถึง CONCEPT การออกแบบเครื่อง ประดับนานาชาติเซตนี้ว่า “คอลเลกชั่นนี้ดิฉันได้แรงบันดาลใจมา จากหลาย ๆ ด้านค่ะ บางทีตัวพลอยเองก็เป็น สิ่งดลใจให้อยากจะออกแบบ แต่ที่สำคัญคือ ทุกแบบดิฉันจะต้องให้ความสำคัญกับพลอย เพราะว่าพลอยแต่ละเม็ดเขาจะมีเสน่ห์ และมี ความสวยที่ไม่เหมือนกัน อย่างมีชิ้นหนึ่งในเซตนี้ที่ทำจากเปลือก หอยแอ็บโบโลน (Abolone) ที่มีชื่อเสียงของประเทศนิวซีแลนด์ เปลือกหอยชนิดนี้หลัง จากนํามาขัดแต่งแล้วสีสวยมาก เป็นสีเขียว อมฟ้า พอเห็นเปลือกหอยตัวนี้ปับ ดิฉันนึกถึง เลยว่ามันต้องเป็นทะเลกับท้องฟ้าใสๆ และ ความสงบ การพักผ่อน การดำน้ำ ชิ้นนี้ดิฉันออกแบบโดยใช้ตัวแอ็บโบโลน เป็นเซ็นเตอร์พีซ แล้วก็มีลวดลายเป็นสาหร่ายทะเล ทำด้วยทอง 18 เค เกาะตัวแอ็บโบโลนแล้วก็ฝังเพชร เพื่อให้ชิ้นงานมันดูน่าสนใจและดูมีมิติมากขึ้น ตัวสร้อยดิฉันใช้อะควอมารีนสีใสสลับกับสีม่วงของอเมทิสต์ และในลูกปัดของอเมทิสต์จะมี คล้ายๆ กับกิ่งไม้เถาวัลย์เกาะตัวลูกปัดเอา ไว้ ข้างล่างของตัวแอ็บโบโลนตัวนี้ก็มีมุกสีโอวัลตินเม็ดหนึ่งเกาะอยู่”
เป็นชิ้นงานที่สวยงามตระการตามากอีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งชิ้นนี้คุณสุวลักษณ์ให้เป็นสัญลักษณ์ของมัลดีฟส์ ส่วนงานอีกชิ้นหนึ่งเป็นพลอยบลู โทปาซ สีฟ้า สวยงามมากเช่นกัน
“งานชิ้นนี้ประกอบไปด้วยพลอยบลูโทปาช 6 เม็ด ที่เป็น 6 เม็ดเพราะว่าทั้งห่อนี่ ดิฉันคัดสวยที่สุดขึ้นมาได้ 8 เม็ดแค่นั้น (อีก 2 เม็ดทําเป็นต่างหู) เป็นพลอยที่น้ำสวยมาก เจียระไนแบบแฟนซีคัต (FANCY CUT)”
ซึ่งคุณสุวลักษณ์อธิบายเพิ่มเติมว่า “การเจียระไนแบบแฟนซีคัตไม่เหมือนรูปทรงทั่วไป แปดเหลี่ยมบ้าง หกเหลี่ยมบ้าง การที่จะเจียระไนเพื่อให้เหลี่ยมมุมถูกต้องเพื่อให้แสง ที่กระทบลงไปแล้วมันจะสะท้อนกลับขึ้นมา ทำให้เกิดเป็นประกาย เป็นการเจียระไนที่ยากมาก เพราะว่าเหลี่ยมมุมทุกอย่างต้องได้รับการคํานวณมาเป็นอย่างดี”\เนื่องจากตัวพลอยมีความสวยอยู่แล้ว จึงไม่ต้องทําอะไรมาก เพียงนํามาร้อยเรียงเข้ากับสร้อยทองคำขาวก็สวยแล้ว “ดิฉันเอาพลอยทั้ง 6 เม็ดมาทําสร้อยคอ โดยที่เรียงออกมาเป็น 2 สาย แล้วก็รูปทรงมันค่อนข้างจะเปลือย เพราะฉะนั้นเวลาใส่เครื่องประดับเซตนี้แล้วพลอยจะโดดเด่น มาก” เซตนี้คุณสุวลักษณ์ให้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศอังกฤษ แต่เธอบอกว่า “เครื่องประดับที่ดิฉันออกแบบทุกชิ้นค่อนข้างจะอินเตอร์นะคะ คือค่อนข้างที่จะง่ายต่อการสวมใส่ แล้วทุกชิ้นก็มีอารมณ์ของเขาเอง”
แต่มีเซตหนึ่งที่เธอตั้งใจออกแบบมาเพื่อสื่อ ถึงความเป็นไทยโดยเฉพาะนั่นคือ เซตไทย “เซตไทยนี่เป็นอะไรที่ค่อนข้างชัดเลย เพราะว่าดิฉันเลือกที่จะใช้ศิลปะการทําเครื่องประดับแบบไทยโบราณ แต่มาออกแบบใน ลักษณะของสมัยใหม่ (Contemporary) ซึ่ง เราสามารถที่จะใส่กับเสื้อผ้าในสมัยปัจจุบันได้ เซตนี้ทําเป็น 2 ชิ้น ชิ้นแรกเป็นงาน สลักดุน ฉลุลาย เอามาประกบบนลูกสะบ้า เป็นงานแบบ Contemporary ที่ใช้ลูกสะบ้า เพราะ หนึ่ง ฟอร์มของลูกสะบ้ามันสวย สอง ผิวของลูกสะบ้าสวย สาม สีของเขา (สีน้ำตาลเข้ม) เมื่อเข้ากับทองแล้วจะเด่นมาก” เธอบอกว่า “เมื่อทองมาอยู่บนลูกสะบ้า มันยกความสวยของทั้ง 2 สิ่งขึ้นมา คือทองก็เด่นขึ้นมา ตัวสะบ้าก็ดูโก้ขึ้นมา แทนที่จะเป็น เมล็ดสะบ้าที่หล่นอยู่ตามพื้น”
อีกชิ้นหนึ่งเป็นแผ่นทองที่ใช้วิธีสลักดุน แบบโบราณสวยงามมากเช่นกัน “การสลักดุนนี้เดี๋ยวนี้มีช่างทําได้อยู่ไม่กี่ คนแล้ว การสลักดุนเขาจะต้องหลอมแผ่นเงิน แล้วก็ไปรีดแผ่นเงิน จนกระทั่งได้ความหนาที่ เหมาะสม แล้วก็มาขึ้นครั่ง แล้วก็มาเขียนลาย เราต้องการจะสลักดุนเป็นลายอะไรก็จะเขียนลงบนทอง จากนั้นเขาก็จะสลักดุนด้านหนึ่ง แล้วก็พลิกสลักอีกด้านหนึ่ง เพราะฉะนั้นเรา จึงจะได้ลวดลายที่มันค่อนข้างจะสูงต่ำที่เด่นชัด แล้วหลังจากนั้นเราก็ต้องมาเพลาลาย คือทำให้ลายที่เราสลักลงไปมันดูคมชัดยิ่งขึ้น”
อีกเซตหนึ่งที่มีความโดดเด่นไม่แพ้กันเลย คือ “เซตไข่มุก” คุณสุวลักษณ์คัดมุกน้ำจืดเนื้อดี มาทำเครื่องประดับ ซึ่งเธอให้เป็นตัวแทนของ ประเทศญี่ปุ่น “มุกล็อตนี้เป็นมุกที่พิเศษมากเลย เพราะว่ามันเป็นมุกน้ำจืดขนาดใหญ่ ปกติมุกน้ำจืด เราจะไม่ได้ไซส์ขนาดนี้ เพราะว่ามุกน้ำจืดมัน ผลิตโดยหอยที่อยู่ในแม่น้ำ ซึ่งตัวไม่ใหญ่นัก แต่อันนี้เป็นเทคโนโลยีของการเลี้ยงมุกของญี่ปุ่น ซึ่งเขาเพิ่งจะทดลองสำเร็จ มุกพวกนี้ ต้องใช้เวลาเลี้ยง 8-9 ปี ถึงจะได้ไซส์นี้ แต่ถ้าถามว่าตัวหอยมันจะอยู่ได้ 8-9 ปีเหรอ มันอยู่ไม่ได้ แต่เทคนิคของเขาก็คือ เขาสามารถที่จะย้ายมุกจากหอยที่มีอายุมากแล้ว มาใส่กับ หอยรุ่นใหม่ แล้วก็เลี้ยงต่อไป ซึ่งอาจจะต้องทําถึง 3-4 Generation ด้วยกัน ถึงจะได้มุกลักษณะนี้ออกมา”
ซึ่งจะสังเกตว่าเครื่องประดับของร้าน ปี บิจูส์ ส่วนใหญ่จะใช้มุกน้ำจืด ทั้งนี้เพราะคุณสุวลักษณ์มีความชื่นชอบฟอร์มของมุกน้ำจืดเป็นพิเศษ เพราะสามารถนํามาสร้างสรรค์ ดีไซน์ได้ค่อนข้างอิสระและหลากหลายรูปแบบ “มุกที่ขายอยู่ตามท้องตลาดในปัจจุบัน 99 เปอร์เซ็นต์ คือมุกเลี้ยง มุกเลี้ยงคือมุกที่คนจะต้องใช้ไส้คือนิวเคลียสเข้าไปในตัวหอย ให้หอยเคลือบน้ำตามุกออกมา ถ้ามุกที่ดีก็คือ เราทิ้งไว้ให้เขาเคลือบนาน แล้วมุกเม็ดนั้นก็ จะออกมากลมสวย เราก็จะเห็นว่ามีความลึก ความแวววาว แล้วก็ความเงา อันนั้นคือเป็นวิธีการเลี้ยงมุกน้ำเค็ม แต่ถ้ามุกน้ำจืด เนื่องจากว่าหอยมุกน้ำจืดตัวเล็ก ถ้าเราเอาสารหรือสิ่งแปลกปลอม ใส่เข้าไปในตัวหอย หอยจะตาย กรรมวิธีก็คือ เขาตัดชิ้นเนื้อของหอยอีกตัวหนึ่งมาใส่เข้าไป เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่ามุกน้ำจืดที่เลี้ยงลักษณะนี้ไม่มีเม็ดกลมเลย หายากมาก เพราะว่าเราไม่สามารถที่จะไปเจียฯ เนื้อหอยให้มันกลมได้ แต่เนื่องจากว่าไส้ในของเขามันเกิดจากเนื้อหอยอีกตัวหนึ่ง เพราะฉะนั้นเวลาเราเอามุกน้ำจืดมาเอกซเรย์ดู เราจะเห็นว่าข้างใน เต็มไปด้วยแคลเซียมของตัวหอยเอง เพราะฉะนั้น หอยมุกน้ำาจืดจะมีความแข็งมากกว่ามุกน้ำเค็ม เพราะว่าข้างในเป็นสารแคลเซียมแท้ๆ ที่เกิดจากตัวหอยเอง
พอได้มุกน้ำจืดเซตนี้มา มันก็สวยเกินไปที่เราจะมาร้อยเป็นสร้อยธรรมดา และเราไม่อยากแยกมันจากกัน ก็เลยเอามาประกอบกันทั้งหมดเลย โดยที่ออกแบบให้แต่ละสาย สามารถถอดแยกออกมาได้ สามารถที่จะปรับให้เป็นชิ้นใหญ่หรือว่าชิ้นเล็กก็ได้ เพราะว่าแต่ละเส้นถอดออกมาได้หมดเลย …อย่างถ้าเป็นกลางวันเราอาจจะใส่แค่เส้นเดียวเก๋ๆ แล้วสร้อยนี้ก็เปลี่ยนได้ จะใส่กับไหมดำก็ได้ หรือจะใส่กับสร้อยทองคำขาว สร้อยทองก็ได้ เซตนี้สามารถใส่ตั้งแต่กลางวันจนกระทั่งถึงกลางคืน”
เมื่อถามถึงเซตที่ยากที่สุดของคอลเลกชั่นนี้ คุณสุวลักษณ์บอกว่า “มันยากทุกชิ้นนะคะ เพราะว่าแต่ละชิ้นมันไม่เหมือนกันเลย ช่างเหมือนกับว่าเรียนรู้ใหม่ทุกวัน ชิ้นที่แล้วความหนาแค่นี้ ไม่ได้แปลว่าชิ้นนี้ความหนาจะแค่นี้ เพราะฉะนั้นเวลาทำงานดิฉันจะอยู่กับช่างทั้งวัน คือเราโชคดีที่เราขึ้นตัวเรือนได้ เราก็เลยเข้าใจว่ามันควรจะสักแค่ไหน” ดังนั้นงานทุกชิ้นเธอจึงบอกว่า “ภูมิใจทุกชุดเลย เพราะแต่ละชิ้นจะมี Character ไม่ เหมือนกัน และทุกชิ้นก็มีเสน่ห์ในตัวเอง”
นอกจากงานที่ร้านบี บิจูส์ แล้ว คุณสุวลักษณ์ ยังเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยกาญจนาภิเษก วิทยาลัยช่างทองหลวงอีกด้วย ซึ่งเป็นอีกงานหนึ่งที่เธอรักและสอนมากว่า 5 ปีแล้ว “งานสอนถือว่าเป็นงานอย่างหนึ่งที่พี่ชอบ เพราะได้มีโอกาสคลุกคลีกับเด็กรุ่นใหม่และก็ได้มีโอกาสแบ่งปันความรู้ทางด้านการทำเครื่องประดับให้เขา เพราะงานในสาขานี้ไม่ค่อยมีคนอยากจะเปิดเผยกันเท่าไหร่ แต่ดิฉัน เห็นว่าถ้าไม่มีการถ่ายทอดกันบ้าง งานศิลปะแขนงนี้มันก็จะหมดไปทุกวัน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย”
นอกจากจะสร้างสรรค์งานคุณภาพแล้ว คุณสุวลักษณ์ยังเป็นหนึ่งในผู้ร่วมสืบสานงานฝีมือของช่างไทย น่าชื่นชมจริงๆ ค่ะ
เรื่อง ญาดา
ภาพ วิภัทร
นิตยสารเปรียว